วันเสาร์ที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2558
เกร็ดความรู้เรื่องการบันทึกเวชระเบียน
การบันทึกเวชระเบียน
เวชระเบียนมีความสำคัญมากขึ้นในปัจจุบัน
ทั้งในมุมมองด้านมาตรฐานวิชาชีพและมุมมองในทางกฎหมาย
การบันทึกข้อมูลการให้บริการอย่างมีคุณภาพ
ทั้งกรณีผู้ป่วยในและผู้ป่วยนอก เป็นสิ่งสำคัญที่จะนำมาใช้เป็นหลักฐานทางการแพทย์
และสื่อสารข้อมูลในการดูแลรักษาผู้ป่วยระหว่างทีมสุขภาพให้สามารถนำมาใช้ในการวางแผนการดูแลผู้ป่วยได้อย่างต่อเนื่อง
เป็นการทบทวนทั้งในด้านกระบวนการดูแลรักษาและผลลัพธ์
เพื่อเป็นหลักประกันคุณภาพการดูแลรักษาว่ามีมาตรฐาน โดยมีการทบทวนเวชระเบียนเพื่อตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลที่ถูกบันทึก
และทบทวนกระบวนการทั้งหมดว่ามีส่วนบกพร่องที่ใด
เพื่อนำไปใช้ในการปรับปรุงคุณภาพบริการ แก้ไขส่วนขาดต่าง ๆ อย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ
เพื่อธำรงไว้ซึ่งคุณภาพและการพัฒนาคุณภาพการบริการอย่างต่อเนื่อง
ในกรณีที่มีการฟ้องร้องกันในชั้นศาล
เวชระเบียนเป็นพยานหลักฐานสำคัญที่มีน้ำหนักมากในการค้นหาความจริงตามประเด็นข้อพิพาท
หากมีการให้บริการแต่ไม่บันทึกไว้ในเวชระเบียน ก็ถือว่าไม่มีการให้บริการนั้น มีคำกล่าวที่แสดงถึงความสำคัญของเวชระเบียนว่า “การบันทึกเวชระเบียนที่ดี
เปรียบเสมือนมิตรแท้ แต่การบันทึกเวชระเบียนที่ไม่ดี เปรียบเสมือนเป็นศัตรูของผู้บันทึก”
บันทึกเวชระเบียนไม่ดีเสียหายอย่างไร
1. ทำแต่ไม่บันทึก ก็ถือว่าไม่ได้ทำ ขาดพยานหลักฐาน
2. เข้าข่ายไม่ได้มาตรฐานวิชาชีพ........ประมาท
บันทึกเวชระเบียนที่ดีควรเป็นอย่างไร
1. ลงบันทึกให้ทันต่อเหตุการณ์
ไม่ควรปล่อยให้ข้ามวันเพราะอาจหลงลืมรายละเอียดที่สำคัญบางอย่าง
2. บันทึกตามลำดับของเวลาต่อเนื่องกันไป
3. บันทึกตรงตำแหน่งที่กำหนดไว้สำหรับการบันทึกประเภทนั้น
ๆ
4. บันทึกการตรวจที่สำคัญเสมอ
ทั้งที่ตรวจพบและไม่พบ เช่น บันทึกว่า “ตรวจท้องแล้วไม่พบความผิดปกติ”
แม้ภายหลังผู้ป่วยจะกลับมาด้วยอาการของไส้ติ่งอักเสบ
เราก็ชี้แจงได้ว่าทำการตรวจผู้ป่วยอย่างรอบคอบแล้ว
5. หลีกเลี่ยงการใช้ตัวย่อ
แต่หากจำเป็นต้องใช้ก็ควรใช้เฉพาะตัวย่อที่เป็นสากล เพื่อป้องกันการสับสน
6. ควรเขียนบันทึกด้วยหมึก
ลายมืออ่านออกง่าย
7. บันทึกอย่างเป็นระบบ
กระชับ ตรงประเด็น เข้าใจง่าย ไม่คลุมเครือ และมีรายละเอียดครบถ้วน แสดงความเห็นอย่างมีเหตุผล
ถูกต้องตามหลักวิชาการ และปราศจากอคติ เช่นการบันทึกเวชระเบียนแบบใช้ปัญหาเป็นหลัก(
Problem Oriented Medical
Record = POMR)
8. อย่าลงวันที่ย้อนหลัง
9. ลงวันที่ เวลา ลงชื่อ
และตำแหน่งหน้าที่กำกับเสมอทุกครั้งที่บันทึก
10. หลีกเลี่ยงความไม่สอดคล้องกันของเวชระเบียน
ในกรณีที่มีการบันทึกโดยบุคคลหลายคน
11. ควรระมัดระวังในการบันทึกเรื่องที่เป็นเรื่องส่วนตัว
หรือความลับของผู้ป่วย เพราะอาจจะมีผลเสียต่อผู้ป่วย
12. ในการบันทึกประวัติ
ต้องเขียนตามคำบอกเล่าของผู้ป่วย ไม่ใช้ศัพท์ทางแพทย์หรือสรุปเอาเองตามความคิดของผู้เขียน
13. บันทึกเวชระเบียนทุกแผ่นควรมีชื่อผู้ป่วย
เลขที่ทะเบียนประวัติ
14. ไม่ควรเป็นบันทึกรายงาน
โดยแสดงอารมณ์ หรือวิพากษ์วิจารณ์ผู้ป่วย หรือแพทย์คนอื่น ๆ
15. ห้ามเปลี่ยนแปลง
ปลอมแปลง ตกแต่ง ลบออก ขีดฆ่า ทำลาย เวชระเบียน เพราะมันแสดงถึงความไม่สุจริตและเป็นเหตุให้สงสัยว่าผู้กระทำสำนึกว่าตนมีความผิดจึงพยายามหาทางปกปิดความผิดของตน
ในทางเทคนิกไม่ยากนักที่ทนายของคู่ความอีกฝ่ายจะนำสืบถึงความไม่น่าเชื่อถือของเวชระเบียน
หลักการแก้ไขเวชระเบียน
เวชระเบียนเป็นเอกสารราชการ
การแก้ไขเพิ่มเติมอาจถือได้ว่าเป็นการปลอมเอกสาร
เจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้องจึงไม่ควรแก้ไขเวชระเบียน
หากมีความจำเป็นต้องแก้ไขในเวชระเบียน
ต้องคำนึงถึงหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
Y
ไม่ควรขีดฆ่า หรือเพิ่มเติมข้อความใด ๆ
ในเวชระเบียนเดิม
Y
การแก้ไขใด ๆ
ให้เขียนในเอกสารเวชระเบียนแผ่นใหม่เฉพาะที่ใช้สำหรับแก้ไขเพิ่มเติม
โดยควรมีผู้ร่วมปฏิบัติงานในการรักษาพยาบาลอย่างน้อย ๑ คน
และควรให้ผู้บังคับบัญชาอย่างน้อยหนึ่งคน
ลงลายมือชื่อรับรองการแก้ไขเวชระเบียนด้วย
Y
ควรกระทำทันทีที่ทราบหรือมีเหตุอันควรรู้ว่าจะต้องแก้ไขเวชระเบียนนั้น
Y
ต้องบันทึกเหตุผลประกอบการแก้ไขด้วย
Y
ไม่ควรแก้ไขเพิ่มเติมเวชระเบียนในรายที่เกิดข้อพิพาทแล้ว
Y
กรณีแก้ไขเพิ่มเติมบันทึกการพยาบาลกระทำเช่นเดียวกับการแก้ไขเวชระเบียน
Y
ตัวอย่างเช่น วันที่ ๑
ตรวจผู้ป่วยที่มีอาการเจ็บตาซ้าย แต่บันทึกไว้ผิดว่าเจ็บตาขวา ต่อมาวันที่ ๓
ถึงได้รู้ว่าเขียนข้างผิด การแก้ไขที่ถูกต้องให้เขียนลงไว้ในวันที่ ๓ ว่า “ขอแก้ไขที่บันทึกไว้วันที่ ๑
จากตาขวาเป็นตาซ้าย”
และให้หมายเหตุไว้ด้านข้างของส่วนที่ต้องการแก้ไข(วันที่ ๑)ว่า “มีการแก้ไข ให้ดูบันทึกของวันที่ ๓”
รวบรวมข้อผิดพลาดเกี่ยวกับการบาดเจ็บที่ศรีษะ
ข้อผิดพลาดที่พบบ่อยในการดูแลผู้ป่วยบาดเจ็บที่ศรีษะ
ปัญหา
|
ข้อผิดพลาด
|
การแก้ไข
|
1. มีประวัติสลบ
|
ปล่อยกลับบ้าน
|
ซักประวัติและAdmit observe 24 ชั่วโมง
|
2.
บริเวณหนังศีรษะฟกช้ำ,บวมโน
|
ไม่ตรวจให้ละเอียด,ไม่ได้คลำบริเวณศีรษะให้ดี
|
ตรวจดูให้ครบถ้วนและบันทึกให้ชัดเจนว่ามี
scalp contusion,hematoma บริเวณใด
ขนาดใหญ่เพียงใด
|
3.
เลือดออกจากหนังศีรษะ
|
ใช้วิธีพันผ้าที่ศีรษะโดยไม่เย็บแผล ทำให้เสียเลือดมากและshock
|
ควรหยุดเลือดออกด้วยการเย็บแผลหลังจากตรวจดูและคลำก้นแผลแล้ว
|
4.
compound depressed fracture skull with
bleeding from scalp and shock
|
ไม่ เย็บแผลเพื่อหยุดเลือดออกในระหว่างรอการส่งตัว
|
ควรเย็บแผลเพื่อหยุดเลือดออกไว้ก่อนจะ
shock
|
5.
บาดแผลที่หนังศีรษะมีสิ่งแปลกปลอมตกค้าง
|
มีเศษผม,หิน,กรวด,ทราย
เศษแก้วค้างคาหลังเย็บแล้ว
|
ควรเอาออกให้หมดโดยละเอียด
|
6.
แผลฉีกขาดหนังศีรษะถลกเปิดเป็นแผ่น(avulsion
flap)
|
ใช้วิธีพันผ้าที่ศีรษะโดยไม่เย็บแผลทำให้เสียเลือดมากและshock
|
ควรเย็บแผลบริเวณบริเวณที่มีเลือดออก
ก่อนพันผ้า
|
7.
แผลลึกเห็นกะโหลกศีรษะสงสัยมีกะโหลกแตกร่วมด้วยแล้ว Referเลย
|
ไม่คลำดูก่อนว่ามีกะโหลกแตกร่วมด้วยหรือไม่
รีบ Refer พันผ้าไม่เย็บแผลจะBleed และShock ขณะรอส่งตัวและรอแพทย์
Neuro
|
คลำดู
ไม่มีกะโหลกแตกก็ทำแผลให้ดีแล้วเย็บได้เลย โดยไม่ต้องRefer
(ยกเว้น severe
flap laceration เย็บรอบ ๆ จุดที่มีเลือดออกก่อนพันผ้า
แล้วจึง Admit มิฉะนั้นจะ
shock ระหว่างรอ consult)
|
8.
เนื้อสมองไหลออกจากแผล
|
ไม่คลำดูว่ามีรอยกะโหลกแตกซ่อนอยู่ในแผลหรือไม่
|
ตรวจยกหนังศีรษะขึ้นมาดูและคลำอาจพบ Depressed fracture ซึ่งมี
เยื่อหุ้มสมองฉีกขาดและเนื้อสมองไหล
|
9.
เนื้อสมองไหลจากหู
|
ไม่ดูให้ดีนึกว่าไขมันปนเลือด
|
ดูให้ดี เพราะจะแข็งกว่า และยืดหยุ่น
มักจะสัมพันธ์กับ Fracture base of skull
|
ปัญหา
|
ข้อผิดพลาด
|
การแก้ไข
|
|
10.
pupil dilate ขณะที่ conscious
ยังดี (GCS=15)
|
นึกว่ามี Brain
Herniation รีบ Refer
ทั้ง ๆ ที่คนไข้ก็พูดรู้เรื่องดีตลอด
|
ไม่มีอะไร เพียงแต่อาจจะเป็น Direct trauma บริเวณ Eyeball หรือ optic
nerve injury เท่านั้น
|
|
11.
pupil โตค่อยปรึกษาแพทย์ระหว่าง
Observe
|
มักเขียนใน order
เมื่อ Admit
|
ไม่ควรสั่งเช่นนั้นเพราะ pupil โต เมื่อขณะ Observe
มักจะสายไปแล้วเสมอ ให้ดู Three baseline คือ Vital signs,GCS และ Brief Neurological Examination
|
|
12.
ปวดศีรษะ อาเจียน กินยังไม่ค่อยได้
แต่ผู้ป่วยยังรู้สึกตัวดี GCS=15 ก็ยังคงให้
Observe อาการต่อไป จน 1
วันผ่านไป 2 วันผ่านไป จน pupil dilated GCS=8
|
มักเข้าใจว่าคนไข้ที่ GCS=15 ไม่มีความจำเป็นต้องส่ง CT Brain โดยไม่ได้สนใจดู Vital signs,ไม่มี neurological examination และประเมินปัจจัยเสี่ยงอื่น
ๆ
|
โปรดศึกษาแนวทางการดูแลผู้บาดเจ็บที่ศีรษะซึ่งต้องซักประวัติ
ตรวจร่างกายเพื่อประเมินความเสี่ยงด้วยโดยเฉพาะกลุ่ม mild
head injury ซึ่งมีโอกาสพลาดสูงเพราะอาการยังไม่แสดงในระยะแรก
|
|
13.
ผู้สูงอายุลื่นล้มหัวแตกมาเย็บแผลที่ห้องฉุกเฉิน
แล้วกลับบ้านไปกลับมา OPD วันถัดมาว่าปวดหัวไม่หาย
แพทย์สั่งยา paracetamal กับ
dimenhydramine อีก
1 สัปดาห์ ยังไม่หายมาใหม่ก็ได้ยาอีก สุดท้ายย้ายไปตรวจ รพ.อื่น CT Brain เป็น Subdural
hematoma
|
ไม่รู้ว่าเป็นอะไรให้ยาคนไข้กลับไปกิน
แต่ก็ไม่หายสักที
|
ผู้สูงอายุมากกว่า 60 ปี
ที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยง(ดูรายละเอียดในแนวทาง)ในกรณีนี้คือมีอาการปวดศีรษะมาก
ไม่หาย เป็นข้อบ่งชี้ต้องส่ง CT Brain
ผู้สูงอายุปวดหัวเป็น ๆ หาย ๆ
มีประวัติบาดเจ็บเล็ก ๆ น้อย ๆ ที่ศีรษะ ให้สงสัย Chronic
subdural hematoma พบบ่อย
บางทีนึกว่าปวดหัวจากโรคความดันโลหิตสูงที่เป็นอยู่ แต่ไม่ใช่
ซึ่งโรคนี้ผ่าตัดง่าย หายขาด และ Dramatic response เพราะฉะนั้นให้
CT Brain เสมอ
|
|
14.
มี Fracture
skull ที่ Temporal
หรือ Occipital
แต่ conscious
ดี
|
มักไม่เห็นรอย fracture ให้คนไข้กลับบ้าน กลับมาอีกที pupil dilated ต้อง Refer บางรายไปตายที่บ้าน
บางรายก็มาตายที่ห้องฉุกเฉินไม่ทันได้ Refer
|
ขาดความชำนาญในการดูฟิล์ม
และถ้าพบว่ามีควร CT Brain ทันทีไม่ควร
Observe นานเกินไป
เพราะว่าถ้า Herniate จะเกิดขึ้นทันที
จน Refer ไม่ทัน,ไม่ควรให้กลับบ้านเด็ดขาด
|
|
15.
Observe ที่
ward ตอนหัวค่ำดี พอเช้า
Coma หรือ Dead (Talk and Die ) In one night WHY?
|
มักประมาทเพราะเห็นว่าคนไข้ conscious ดี, ไม่ Investigate
อะไรเลย
ไม่มีการตรวจ neurological examination
ความถี่ในการตรวจไม่เพียงพอที่จะให้ Early Detection Neurological Deterioration
|
-ควรสันนิษฐานประมาณการบาดเจ็บให้ชัดเจน
โดยสังเกตร่องรอยหนังศีรษะบริเวณขมับและท้ายทอย อย่างน้อย film skull ก็บอกอะไรกับเราได้มากเพราะว่าถ้ามี
fracture จะเสี่ยงต่อการมี Epidural hematoma อย่างมากและ Herniate และตายเร็วโดยที่เราช่วยไม่ทัน
โดยเฉพาะ Temporal และ
Occipital สำหรับคนไข้ moderate-severe Head injury GCS 12-3 มักจะส่ง
CT Brain อยู่แล้วจึงมักจะพบก่อนเสมอ
-มีแบบฟอร์มการบันทึกซึ่งจะช่วยให้ทำงานได้ง่ายขึ้น
ไม่หลงลืม และสามารถส่งต่อข้อมูลให้กันอย่างถูกต้อง
ครบถ้วน
-มีแนวทางการปฏิบัติที่ชัดเจนและเหมาะสมทั้งที่ห้องฉุกเฉินและที่หอผู้ป่วย
-ทำตามมาตราฐานการสังเกตุอาการที่วางแนวทางไว้
-จัดทำจัดหาสื่อการสอนเพื่อพัฒนาบุคคลากรให้มีความสามารถในการประเมินผู้บาดเจ็บได้อย่างมีประสิทธิภาพ
|
|
16.
เมา หรือสมองกระทบกระเทือนรุนแรงกันแน่ หรือมี Intracranial
Hematoma และกำลัง Herniate
? ( ใกล้ตายแน่นอน )
|
คนไข้บาดเจ็บที่ศีรษะไม่ว่าหนักหรือเบา
คืออาจได้รับบาดเจ็บที่ศีรษะรุนแรง แต่มีกลิ่นเหล้า หรือรู้ตัวมา
แต่ต่อมาเอะอะโวยวาย มักคิดว่าคนไข้เมาแต่ไม่นานก็ Dead
หรือ pupil
dilated fixed GCS=3
|
ควรคิดไว้ก่อนว่า
คนไข้เมาแล้วดิ้นเอะอะโวยวาย มี?
หรืออาจเป็นได้ว่า มี
-
Diffuse primary brain injury
-
Massive Hematoma
(Epidural/Subdural)
-
Brain contusion and
laceration(พบบ่อยบริเวณFrontal
and Temporal)
ควร
CT Brain ก่อนเสมอ
|
|
เมา หรือ
สมองกระทบกระเทือนรุนแรงกันแน่
|
ควรมีระดับ แอลกอฮอล์ในกระแสเลือดมากกว่า
200 mg% จึงมีผลต่อการตรวจ GCS และสภาพเช่นนี้ เป็นอยู่ ไม่เกิน 6 ชม.ฉะนั้นผู้ป่วยที่มี GCS 13, 14 ให้ระวังพยาธิสภาพ
ในสมองให้มาก ถ้าสังเกตอาการ 3 ชั่วโมงแล้วยังไม่เปลี่ยนแปลงดีขึ้น ควรส่ง CT Brain เลย ไม่ควรรอสังเกตต่อไปอีก
ไม่ควรสั่งสังเกตอาการไว้ตลอดคืน แล้วค่อยมาประเมินอาการอีกครั้งในตอนเช้า
จะเกิดอุบัติการณ์ผู้ป่วยมี Herniation แล้วทั้ง
ๆ ที่สังเกตอาการในโรงพยาบาล
|
||
17.
Severe Head injury กับ
Airway
|
พยายามที่จะใส่
Endotracheal
Tube ที่
ER
ผู้ป่วย
COMA
เกร็งมากจนอ้าปากไม่ขึ้น
ทำให้ Intracranial
pressure สูงขึ้น
เกิด Brain
Herniation ได้
|
ใช้ Blind
Nasotracheal Intubation ถ้าไม่สำเร็จปรึกษาทีมวิสัญญีพิจารณาใช้ยาหย่อนกล้ามเนื้อ
Succinyl choline 1 mg/kg iv ช่วยโดย
preoxygenation ด้วย
100 % O2
เตรียมทางเลือกอื่นกรณีไม่สามารถใส่ ET tube ได้สำเร็จไว้ด้วย เช่น Esophageal tracheal combitube หรือ
Cricothyroidotomy หรือ
Tracheostomy
|
|
18. Severe Head injury กับ
Shock
|
มักคิดว่าการที่คนไข้ BP drop เป็นเพราะ Head
injury
|
Head injury ในรายที่
Severe BP จะขึ้นมากกว่า
|
|
19.
ไม่พยายามป้องกัน secondary brain injury ในผู้ป่วยที่ได้รับบาดเจ็บต่อสมอง
|
- การปล่อยให้เกิด airway obstruction,hypoventilation
ทำให้ความดันในกะโหลกศีรษะ(ICP)สูงขึ้น
และเกิด brain ischemia,brain edema,brain death ตามมา
-การช่วยหายใจด้วย tidal volumeที่สูงเกินไป,respiratory rateที่เร็วเกินไป,inspiratory timeที่ยาวเกินไป
ทำให้ความดันในช่องอกสูงกว่าที่จำเป็น ซึ่งทำให้ ICP สูงขึ้นด้วย
-การไม่ใช้ยาหย่อนกล้ามเนื้อ
ปล่อยให้ผู้ป่วยดิ้น ไอ และต้านการช่วยหายใจ ทำให้ ICP สูงขึ้น
- การดูดเสมหะโดยไม่ระมัดระวัง Hypoxemia,Hypoventilation การ
Hyperinflate ปอดมากหรือเร็วเกินไป
เป็นเหตุให้ ICP สูงขึ้นได้
-
การไม่ไขเตียงให้ผู้ป่วยศีรษะสูงขึ้น 30 องศา เป็นเหตุให้ ICP สูงขึ้นได้
-การปล่อยให้ผู้ป่วยคอพับหรือมีการอุดกั้น
venous return จากศีรษะ
เป็นเหตุให้ ICP สูงขึ้น
เช่น Hard collar เมื่อ
rule out C-spine fracture ได้แล้ว
ก็ควรเอาออกเสีย
-การไม่ให้ O2
therapy ในผู้ป่วยที่มี GCS ≤ 8 ทำให้เกิด Hypoxemia
ได้ถึงร้อยละ 30-50
-การให้ Fluid
resuscitation ไม่เหมาะสม เช่น การให้ hypotonic solution เร็ว(acetar,RLS,5%D/N/2) ทำให้เกิด Brain edema ได้
- การให้ dextrose
solution ในภาวะ brain
ischemia ทำให้เซลสมองใช้ glucose แบบ
anaerobic จึงเกิด Lactic
acid สะสมในเซลสมอง
และเป็นสาเหตุของการทำลายเซลสมองได้
- การปล่อยให้ anemia ทำให้เกิด cerebral
hypoxia ได้ ไม่ควรให้ Hct ต่ำกว่า 30-35 %
|
จัดทำมาตราฐานการดูแลรักษาผู้บาดเจ็บศีระที่ต้องได้รับการส่งต่อ
|